วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อและนำไปแปะหน้าห้องเรียน
จากกิจกรรมนี้เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้  เช่น จากจำนวนเด็กทั้งหมด
21 คน มาเรียน 18 คน จะเหลือเด็กที่ไม่มาเรียนอยู่ 3 คน เด็กจะได้เรียนรู้การลบ , ในทุกๆวัน
จำนวนของเด็กในการมาและไม่มาโรงเรียนจะมีโอกาสเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้จึงทำให้เด็ก
ได้เรียนรู้ว่าจากจำนวนเด็กทั้งหมด 21 คนนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้โดยจะแบ่งในจำนวนที่
เท่ากันหรือจำนวนที่ไม่เท่ากันก็ได้
                         - จากกิจกรรมข้างต้นใช้วิธีการเรียนการสอนในชีวิตประจำวันไม่ใช่การตั้งใจ
หรือจงใจที่จะสอนการบวกการลบเลขโดยตรง
                         - กิจกรรมต่อมาเป็นการนำเสนองานตามหัวข้อที่ตนได้รับมอบหมายไว้
คนที่ 1 เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
คนที่ 2 เลขที่ 2 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน  ,  คนที่ 3 เลขที่ 4 นำเสนอบทความ
                        - เข้าสู่บทเรียน ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
                        - ร้องเพลงคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
    

                    

                   

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการนับ
                        - ทักษะการบอกจำนวน
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
                        - นำไปใช้ในการนับจำนวนการมาและไม่มาโรงเรียนของเด็ก

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - เริ่มต้นคาบเรียนวันนี้ด้วยการเช็คชื่อนักศึกษาและพูดคุยเรื่องคุณธรรมจริยธรรม
                          - กิจกรรมต่อมาอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาจำนวนหนึ่ง นักศึกษาจึงหยิบ
คนละ 1 แผ่นแล้วส่งต่อให้เพื่อน ผลคือกระดาษมีจำนวนน้อยกว่านักศึกษา อาจารย์จึงสอนเกี่ยวกับ
การเปรียบเทียบว่าหากกระดาษมีจำนวนน้อยกว่าคน เราจะมีวิธีการคิดหาส่วนต่างได้กี่วิธีจึงจะ
สามารถหาจำนวนของกระดาษที่ยังต้องการได้ อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบสร้างสถานการณ์
                         - กระดาษที่ทุกคนได้รับให้เขียนหัวข้อว่า "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์           สำหรับเด็กปฐมวัย" และแตกออกมาเป็น 3 หัวข้อย่อยดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์ 2.คณิตศาสตร์
3.สำหรับเด็กปฐมวัย และมอบหมายงานให้นักศึกษาไปเขียนองค์ประกอบของแต่ละหัวข้อ

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
                        - นำไปใช้ในการแจกนม เพราะถ้าหากว่านมมากกว่าเด็กแสดงว่าวันนั้นเด็กไม่มาโรงเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด


สรุปวิจัย

เรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อม

ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



ชื่อเรื่องการคนควาแบบอิสระการสรางหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร
                                                สําหรับเด็กปฐมวัย
ผูเขียน         :  นางสาวกัญญนันทน กิตติ์ชนะภิรมน
ปริญญา       :  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการคนควาแบบอิสระ   
                    :   ผูชวยศาสตราจารย ดร. รัชชุกาญจน ทองถาวร อาจารยที่ปรึกษาหลัก
                        รองศาสตราจารยวีณา วโรตมะวิชญ อาจารยที่ปรึกษารวม
                   
                       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสรางหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทาง
คณิตศาสตร เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพรอมทาง
คณิตศาสตรเรื่ องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย หลังการใชหนังสือภาพและศึกษา
ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ กลุมเปาหมายที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ ไดแก
นักเรียนที่กําลังศึกษาอยูในระดับชั้นอนุบาลปที่ 2 โรงเรียนบานแมลาน สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 2 จังหวัดลําพูน ภาคเรียนที่ 2 ป การศึกษา 2553 จํานวน 18 คน
เครื่องมือที่ใชในการศึกษาประกอบดวย หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร

สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เลม แผนการจัดประสบการณเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร 
เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 – 9 จํานวน 12 แผนแบบทดสอบความพรอมทางคณิตศาสตร              
เด็กปฐมวัยหลังใชหนังสือภาพ จํานวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่
มีตอหนังสือภาพจํานวน 1 ชุดวิเคราะหขอมู ลโดยการหาคาเฉลี่ยรอยละของคะแนนความพรอม
ทางคณิตศาสตรแลวเปรียบเทียบกับเกณฑที่ตั้งไวของโรงเรียนรอยละ 60.00 และนําเสนอขอมูล
โดยใชตารางประกอบคําบรรยาย สวนความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพวิเคราะหขอมูล
โดยการหาคาเฉลี่ย(และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย                                                          

                    ผลการศึกษาพบวา

                   1. ไดหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร เรื่องการรูคาของตัวเลข                                0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เลม ซึ่งสามารถนํามาใชไดอยางเหมาะสม
                   2. ผลการเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร ของเด็กปฐมวัยหลังการใชหนังสือภาพ
                      ปรากฏวานักเรียนทุกคนมีความพรอมทางคณิตศาสตร เรื่ อง การรูคาของตัวเลข                               0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ย รอยละ 93.39 ซึ่งสูงกวาเกณฑที่ กําหนดไว รอยละ 60.00
                   3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพของนักเรียน                                  ชั้นอนุบาลปที่ 2 โรงเรียนบานแมลาน จํานวน 18 คน อยูในระดับมากในทุกดาน


สรุปแนวการสอน

เรื่อง การบวกเลขและการนับเลข 1-10


                      คลิปวีดีโอนี้มีแนวการสอนการบวกเลขโดยวิธีการใช้ภาพสัตว์เป็นสัญลักษณ์แทน
ตัวเลขและการนับเลข 1-10 เป็นภาษาอังกฤษ ในขณะที่นับจำนวนก็มีการขยายภาพของสัตว์
ทีละตัวที่เรากำลังนับเพื่อแสดงให้เห็นการนับเลขว่าถึงจำนวนที่เท่าไหร่และมีภาพสัตว์อีกกี่ตัว
ที่ยังไม่ได้ทำการนับ มีการแสดงเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เช่น บวก(+)  ลบ(-)  และ              เท่ากับ(=) เป็นต้น 
                     
                     ทั้งนี้ในคลิปวีดีโอยังสอนการนับเลขเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งแสดงคำศัพท์
ภาษาอังกฤษของตัวเลขแต่ละตัวอีกด้วย เช่น 1 (ONE)  2 (TWO) และ 3(THREE) เป็นต้น



แหล่งที่มา https://www.youtube.com/watch?v=t1Gg-7eK8mY
ขอขอบคุณ : Wareena Na Nongkai



สรุปบทความ

เรื่อง Mathematic ของวัยซน


                        การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4…10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก เริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ ลูกได้เรียนรู้และเข้าใจถึงทักษะง่ายๆและใกล้ตัว
                       
                      ทุกวันนี้หมดยุคของการท่องจำหรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้ว เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยวหรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลาและอื่นๆมากมาย ที่สำคัญทุกสาขาอาชีพก็ต้องล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ บัญชี เทคโนโลยี การเมือง การปกครอง การทำนา ล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
                      
                      - พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบาย    ให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์”

                    - คาร์ล เฟรดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์                  กล่าวว่า “คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด”



แหล่งที่มา : http://www.karn.tv 
ขอขอบคุณ: นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 296 กันยายน 2550





วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้กระดาษนักศึกษามาจำนวนหนึ่งแล้วให้นักศึกษาแบ่งกระดาษ 1 แผ่น
ออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน โดยจะแบ่งอย่างไรก็ได้ จากนั้นให้เก็บกระดาษไว้ที่ตัวเองคนละ 1 ส่วน
                          - อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์จุดเด่นของตนเองและเขียนลงในกระดาษ
โดยอาจารย์จะเป็นผู้ลองทายนักศึกษาจากลักษณะเด่นนั้นๆ
                          - สุดท้ายเป็นการมอบหมายงานของสัปดาห์นี้ คือการทำ Blog
เพื่อเป็นแฟ้มสำหรับสะสมผลงานของรายวิชานี้

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                    
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด