วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์แจกไม้ 3ขนาด(ยาว กลาง สั้น) และดินน้ำมันให้นักศึกษา
โดยมีโจทย์ว่าให้นำวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับมาทำอย่างไรก็ได้ให้ออกมาเป็น "รูปสามเหลี่ยม"


                    - จากนั้นได้มีการอภิปรายระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม เช่น
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้รูปสามเหลี่ยมว่าสามารถจัดได้อย่างไรบ้าง เป็นต้น
โดยมีขั้นตอนการทำกิจกรรมดังนี้ 1. วิเคราะห์โจทย์แนวคิด 2. ศึกษาวัสดุที่มี 3. ลงมือทำ
4. ผลงาน 5. นำเสนอ
                   - อาจารย์ให้นักศึกษาทำรูปต่างๆอีกดังนี้

รูปทรงสามเหลี่ยม


รูปสี่เหลี่ยม


รูปทรงสี่เหลี่ยม


                     - จากกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ 
เช่น กิจกรรมศิลปะ เป็นต้น และรูปทรงที่เหมือนกันหากเราลองหมุนหรือกลับด้านกัน
เราจะพบว่ารูปทรงมีความแตกต่างกันออกไป
                    - นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
คนที่ 1 เลขที่ 10  นำเสนอบทความ
คนที่ 2 เลขที่ 11 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน
คนที่ 3 เลขที่ 12 นำเสนอวิจัย





ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการแก้ปัญหา
                        - ทักษะการใช้เหตุผล
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น โดยในกระดาษนั้น
อาจารย์ให้นักศึกษาวาดตารางตามแนวนอนจำนวน 10ช่อง แล้วให้นักศึกษาระบายแรงเงา
ลงไปในช่องจำนวน 2 ช่องติดกัน อาจารย์ให้นักศึกษาดูว่าภายในช่องทั้งหมดนั้นจะสามารถ
ระบายแรงเงาจำนวน 2 ช่องติดกันโดยแต่ละคู่ที่ระบายจะต้องไม่เหมือนกันได้ทั้งหมดกี่คู่
                          - นำเสนองานตามหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมาย
คนที่ 1 เลขที่ 7  นำเสนอบทความเรื่อง"หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"



คนที่ 2 เลขที่ 8 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน



คนที่ 3 เลขที่ 9 นำเสนอวิจัย



                          - อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวีดีโอ"การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach"
ในระหว่างชมคลิปวีดีโออาจารย์ได้สอดแทรกเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์




ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการนับ
                        - ทักษะการบอกจำนวน
                        - ทักษะการแก้ปัญหา
                        - ทักษะการใช้เหตุผล
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

                         

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนชื่อตนเองแล้วนำไปติดที่กระดานหน้าชั้นเรียน
โดยที่กระดานจะแบ่งเป็น 3 ช่อง ดังนี้     1.ตื่นนอนก่อน 07.00น.      2.ตื่นนอน 07.00น.
3.ตื่นนอนหลัง 07.00น. เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้ลงมือทำและมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ตัวอย่างกิจกรรมสำหรับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก เช่น ให้เด็กบันทึกเวลาการตื่นนอน
ของตนเองแล้วนำมาติดที่หน้าชั้นเรียนแทนการจดจำเวลาตื่นนอนของตนเอง
                         - อาจารย์เขียนตัวเลขหน้าชั้นเรียนจำนวน 4 ชุด ดังนี้
3525   11   155   350  จากนั้นอาจารย์ลองให้นักศึกษาลองทายว่าตัวเลขแต่ละชุด
หมายถึงตัวเลขอะไรบ้าง เฉลยคือ 1.ป้ายทะเบียนรถ 2.วันเกิด 3.ส่วนสูง 4.เลขที่บ้าน
จากกิจกรรมนี้เพื่อจะบอกว่าตัวเลขต่างๆนั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเองและต่อมา
อาจารย์ได้ให้ตัวแทนนักศึกษา 2 คนออกไปลองเขียนตัวเลขของตนเองจำนวน 4 ชุด
และให้เพื่อนๆในชั้นเรียนลองทายกันดู
                        - อาจารย์ได้นำกระดานประจำวันมาให้นักศึกษาลองดูแล้วให้นักศึกษา
ช่วยกันบอกถึงสิ่งที่ควรเพิ่มเติมและสิ่งที่ควรแก้ไขพร้อมทั้งบอกตัวอย่างวิธีการใช้งาน
คือให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยการนำตัวเลขของวันมาติดบนกระดานและชวนเด็ก
พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของวันเช่นวันแรกของสัปดาห์คือวันอาทิตย์ วันสุดท้ายของสัปดาห์
คือวันเสาร์ วันที่อยู่ก่อนหน้าวันอังคารคือวันจันทร์ เป็นต้น


                        - นำเสนองานตามหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมาย
คนที่ 1 เลขที่ 3 นำเสนอวิจัยเรื่อง "การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
โดยการใช้การละเล่นของเด็กไทย"
คนที่ 2 เลขที่ 5 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน
คนที่ 3 เลขที่ 6 นำเสนอวิจัยเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม"
คนที่ 4 เลขที่ 21 นำเสนอบทความเรื่อง "สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก"




                       - กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้เป็นการนำเสนอของเล่นของแต่ละคู่ที่อาจารย์ได้
ให้ไปหาข้อมูลว่าของเล่นชิ้นนั้นมีประโยชน์ทางคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการนับ
                        - ทักษะการบอกจำนวน
                        - ทักษะการแก้ปัญหา
                        - ทักษะการใช้เหตุผล
                        
การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
                        - นำไปใช้ในการนับจำนวนการตื่นนอนตอนเช้าของเด็ก

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ของเล่น

แผ่นไม้ปักหมุดต้นไม้




แผ่นไม้ปักหมุดต้นไม้สอนเรื่องจำนวนนับ 1-10

วิธีการเล่น 
                          แผ่นไม้ลายต้นไม้ทุกแผ่นจะมีรูอยู่จำนวน 10 รูเท่ากันทุกแผ่น พร้อมกับบอกตัวเลข
จำนวนนับ1-10 กำกับไว้ในแต่ละแผ่น เด็กๆจะต้องวางหมุดตรงรูที่ต้นไม้ตามจำนวนนับที่กำกับไว้

ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์

                              ของเล่นเสริมพัฒนาการชิ้นนี้ช่วยให้เด็กได้ฝึกความเข้าใจเรื่องตัวเลขและการเรียนรู้
จำนวนนับ 1-10  ฝึกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในการเรียกจำนวนนับ one – ten อีกด้วยทั้งยังช่วยฝึกฝน
และพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข เสริมสร้างกระบวนการคิด ให้มีความรู้ ความเข้าใจ 
เพื่อพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีในระดับสูงต่อไป มีการจัดสาระการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้อง
กับหลักการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ กิจกรรมต่างๆ ของเล่นเสริมพัฒนาการนี้ช่วยส่งเสริมให้เด็ก
ได้พัฒนาการเรียนรู้ กระบวนการคิด นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก
ได้ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สนุก มีความสุขในการเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อวิชา
คณิตศาสตร์ของเล่นที่เป็นทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ให้ทั้งประโยชน์และความสนุกไปพร้อมๆ
กับการฝึกเสริมทักษะพัฒนาการ เข้าใจง่ายด้วยรูปแบบและแนวความคิดที่ออกแบบมาอย่างดีซึ่ง
ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อที่จะถ่ายทอดให้ลูกหลานได้เห็นภาพ 
ของจริงและชัดเจน ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น